ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้วิจัย นางสาววลัยพร ก้อนจันทร์หอม
ปีที่ศึกษา 2560

บทคัดย่อ
การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้หน่วยเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 แผน รวม 20 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากรายข้อ (P) ตั้งแต่ 0.21-0.73 ค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.32-1.00 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และ 3) แบบวัด ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความ มัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ 0.22-0.96 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ () เท่ากับ 0.951 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test dependent samples)

ผลการวิจัยสรุปผลได้ดังนี้
1.
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพ 84.34/86.96 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แผนที่ความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก

Download File : การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิด